|
ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2448 ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธินฤมล ในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์
ทรงเป็นต้นราชตระกูล "ฉัตรไชย" และทรงมีพระโอรสและธิดารวม 11 พระองค์ คือ | |||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
พระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากร นอกจากจะทรงรับราชการทหารแล้ว ยังทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณ และทรงวางฐานในกิจการด้านอื่นๆ เป็นต้นว่า การส่งวิทยุกระจายเสียง การออมสิน การโรงแรม การสหกรณ์ การพาณิชย์ การท่องเที่ยว การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การบินทหารบก และการคมนาคมโดยเฉพาะกิจการรถไฟที่พระองค์ทรงริเริ่มขยาย ปรับปรุงให้มี ความเจริญรุดหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ อันเป็นผลให้พระองค์ได้รับเลื่อนพระอิสริยยศมาโดยลำดับ
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร มีพระนามเต็มว่า " นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ประชาธิบดินทรเจษฎภาดา ปิยมหาราชวงศ์วิศิษฏ์ อเนกยนตรวิจิตรกฤตยโกศล วิมลรัตนมหาโยธาธิบดี ราชธุรันธรีมโหฬาร พาณิชยการคมนาคม อุดมรัตนตรัยสรณธาดามัททวเมตตาชวาศรัย ฉัตร์ชัยดิลกบพิตร " |
|
เนื่องจากเมื่อพระองค์ท่านเสด็จมาเป็นผู้บัญชาการรถไฟใหม่ ๆ กิจการรถไฟมีคนไทยอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศมีชาวเยอรมัน อังกฤษ อิตาเลียน และชาวเอเซียชาติต่างๆ เช่น ชาวอิเดีย ชาวซีลอน และชาวพม่า พระองค์จึงทรงระดมคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทหารช่าง กรมแผนที่ และคนไทยที่พูดภาษาอังกฤษได้ จากห้างร้านต่าง ๆ ให้เข้ามาทำงานรถไฟ ทรงฝึกฝนคนไทยให้มีความสามารถในกิจการรถไฟด้วยการแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เอง ในที่สุดพระองค์ท่านก็ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ รุ่นแรก ๆ ได้ส่งไปสหรัฐอมริกา เพราะในยุโรปเกิด สงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาจึงส่งไปยุโรป เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เมื่อนักเรียนเหล่านี้สำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับมารับราชการในกรมรถไฟหลวง ทำให้กิจการรถไฟเจริญก้านหน้ามาจนทุกวันนี้
|
พ.ศ.2471 นายพลเอก กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงสั่งซื้อรถจักรดีเซลมีกำลัง 180 แรงม้า ส่งผ่านกำลังด้วยการกลจำนวน 2 คัน เข้ามาใช้การเป็นรุ่นแรกในประเทศไทย และเป็นรายแรกในทวีปเอเชีย โดยใช้เป็นรถจักรสำหรับสับเปลี่ยนและลากจูงขบวนรถท้องถิ่นรอบกรุงเทพฯ รถจักรรุ่นนี้สร้างโดยบริษัทสวิสส์โลโคโมติฟ แอนด์ แมชินเวอร์ค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
|
เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดรถจักรดีเซลขึ้นในเมืองไทย รถจักรดีเซลทุกคันที่ใช้การอยู่ในการรถไฟฯ ขณะนี้จึงได้ประดับ
เครื่องหมาย " บุรฉัตร " อันเป็นพระนามของพระองค์ ติดที่ด้านข้างของรถจักรดีเซลทุกคันที่สั่งเข้ามา เพื่อเป็นการรำลึก และ เทิดพระเกียรติแห่งพระองค์ท่านสืบไป |
เครื่องหมายบุรฉัตร | รถจักรดีเซลไฟฟ้า เลขที่ 22 |
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนากิจการรถไฟให้บังเกิดผลดีรวดเร็ว และสะดวกในการปฏิบัติงาน ทรงปรับปรุงสัญญาณประแจกลและโทรคมนาคมของกรมรถไฟหลวงใหม่หมด โดยเริ่มใช้โทรศัพท์ทางไกล โทรศัพท์อัตโนมัติ และเครื่องตราทางสะดวกแทนการขอทางด้วยเครื่องโทรเลข ทรงวางแผนและดำเนินนำรถจักรดีเซลมาใช้แทนรถจักรไอน้ำ โดยมุ่งเน้นการนำรถจักรดีเซลไฟฟ้ามาใช้การ เพราะได้ทรงวางแผนและศึกษาต่อไปถึงความเป็นไปได้ถึงการนำรถจักรดีเซลทำการลากจูงขบวนรถหมดแล้ว นับว่าพระดำริของพระองค์ในเรื่องนี้ก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างมหาศาลในกาลต่อมา พระกรณียกิจและพระดำริของพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการรถไฟและบังเกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชนไทยอย่างมหาศาล
|
การจัดให้มีพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟให้เป็นมาตรฐานสากล
|
กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงขอพระบรมราชานุญาตในการออกพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟ และทางหลวง พุทธศักราช 2465 อันเป็นพระราชญัติควบคุมคุ้มครองของการรถไฟ ทางหลวง รถไฟเอกชนที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและรถไฟอุตสาหกรรม ให้มาขึ้นอยู่กับสภากรรมการรถไฟ เพื่อเป็นการวางหลักการบริหารกิจการรถไฟของประเทศให้มีระเบียบยิ่งขึ้น
|
การขยายเส้นทางเดินรถไฟสายเหนือ
| ||||||||||
การเดินรถไฟในสายเหนือ ก่อนที่กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน จะมารับตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงมีการเปิดเส้นทางเดินรถไฟถึงสถานีปากพง และกำลังดำเนินการตรงช่วงถ้ำขุนตาน พระองค์มาดำเนินการต่อ โดยทรงซื้อที่ดินสำหรับสร้างสถานีลำพูนและสถานีเชียงใหม่ ทรงควบคุมการวางรางสร้างทางรถไฟจากถ้ำขุนตานไปจนถึงสถานีเชียงใหม่ และเปิดการเดินรถตลอดทางสาย เหนือ จากกรุงเทพฯ ถึง เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2464
| ||||||||||
| ||||||||||
| ||||||||||
| ||||||||||
ขณะก่อสร้างสะพานทาชมภู | ความสง่างาม สะพานทาชมภู |
การขยายเส้นทางเดินรถไฟสายใต้
|
กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเจรจากับผู้จัดการรถไฟของสหพันธรัฐมลายูด้วยเรื่องที่จะเดินรถไฟติดต่อกัน ต่อมาเมื่อสร้าง ทางแยกจากชุมทางหาดใหญ่ไปยังสถานีปาดังเบซาร์เสร็จเรียบร้อย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ออกประกาศเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ให้เดินรถไฟติดต่อกับรถไฟมลายู โดยให้ปาดังเบซาร์เป็นสถานีร่วมตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2461
|
สร้างสะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของประเทศไทย เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกันทำให้การใช้งานรถจักรและล้อเลื่อนรวมถึงอะไหล่ต่าง ๆ ได้ทั่วราชอาณาจักร เริ่มการก่อสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465 และสะพานสร้างเสร็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2469 ค่าก่อสร้างรวมทั้งทางรถไฟ 6,008,939 บาท เฉพาะตัวสะพานประมาณ 3 ล้านบาท
|
ขณะก่อสร้างสะพานพระราม 6 | สะพานพระราม 6 ในอดีต |
สะพานพระราม 6 | สะพานพระราม 6 ปัจจุบัน |
การขยายเส้นทางเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
|
การเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือในระยะแรกทำการเดินรถจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา เท่านั้น เมื่อกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง พระองค์ได้ขยายเส้นทางเดินรถไฟจากนครราชสีมาไปถึงอุบลราชธานี ทรงเริ่มดำเนินการในพุทธศักราช 2462 โดยทำการวางรางเป็นระยะ ๆ และเปิดทำการเดินรถเป็นช่วง ๆ เส้นทางเดินรถไฟนี้เสร็จสมบูรณ์สามารถเดินทางไปถึงอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2473
|
การขยายเส้นทางเดินรถไฟสายตะวันออก
|
เส้นทางเดินรถไฟสายตะวันออกในระยะแรก สามารถเดินทางจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงฉะเชิงเทรา กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธินทรงทำการขยายเส้นทางเดินรถสายนี้จากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ โดยเริ่มสร้างทางรถไฟต่อจากตอนที่ทำมาแล้วถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเปิดทำการตั้งแต่ พ.ศ.2462 และเสร็จสมบูรณ์สามารถเดินรถถึงอรัญประเทศได้ใน พ.ศ.2469
|
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงสิ้นพระชนม์ ด้วยโรคพระทัยวาย ณ โรงพยาบาลในเมืองสิงค์โปร์เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2479 รวมพระชันษาได้ 54 ปี 7 เดือน 22 วัน แม้ว่าพระองค์จะทรงสิ้นพระชนม์ไปแล้ว แต่พระกรณียกิจและพระดำริที่ทรงสร้างสรรค์ไว้ยังคงเป็นอนุสรณ์แห่งพระปรีชาสามารถและพระวิริยะอุตสาหะที่ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ ทางราชการได้ตระหนักถึงพระกรุณาธิคุณอันเหลือคณานับของพระองค์ท่าน จึงกำหนดให้วันที่ 14 กันยายน เป็น " วันบุรฉัตร " และ การรถไฟฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ และพระกรณียกิจของพระองค์ที่มีต่อประชาชน และประเทศไทยสืบไป
ขอบคุณสำหรับข้อมูล : การรถไฟแห่งประเทศไทย http://www.railway.co.th/home/srt/about/burachut.asp
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น